ตอนที่ 12 ออมอย่างไร ยุคน้ำมันแพง
ออมอย่างไร ยุคน้ำมันแพง
หายไปนานเลยนะเอื้อ เรียนถึงไหนแล้วละ พี่อาทรถามเอื้อเมื่อเจอกันย่ำค่ำคืนฝนรั่ว เอื้อไม่ได้หายไปไหนหรอก ซุ่มนะ เรียนหนัก อีกอย่างไปไหนที เสียเงินตลอด ไม่ไหว น้ำมันแพง ข้าวของพาลขึ้นตามไปหมด ไม่อยากขอตังค์แม่เพิ่ม สงสาร
อ้าวช่วงนี้ ไม่หาจ๊อบแล้วเรอะ ไหนว่าจะหาทุนไว้ทำธุรกิจไง พี่อาทรแซวเอื้อใหญ่ ก็ ยังหาอยู่ ช่วงนี้เด็กเริ่มปิดเทอม เขาขอพักหมองก่อน พอดีเอื้อก็จะสอบด้วย โชคดีไป
เออ พี่อาทรวันก่อนไปเข้าคอร์ส เสวนา บัญชีในครัวเรือน เป็นไงบ้าง เอื้อสนใจนะ อยากให้พ่อแม่ทำบ้าง เพราะที่บ้านไม่ค่อยมีระบบการใช้จ่ายเท่าไร พ่อยุ่งยุ่ง แม่ก็ปั่นหาเงินลูกเดียว ยังดีน้า เริ่มเก็บเงินมั่งแล้ว แต่ก็ยังไม่มากพอหรอก ยิ่งตอนนี้ยุคข้าวน้ำมันแพง
เอื้อถามเมื่อนึกขึ้นได้ว่า พี่อาทรไป ทีเคปาร์ค อุทยานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจัดเสวนาในหัวข้อ “การออมเงินของครอบครัว” โดยมี ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร เป็นวิทยากร
ก็ดีหลายเด้อ แต่บางทีมันก็ลำบากน้า อ้ายการทำบัญชีเนี่ย บัญชีรายรับ - รายจ่ายในครอบครัว ส่วนมากแม้จะเห็นประโยชน์ แต่ไม่มีความอดทนพอที่จะจดบันทึกรายรับ - รายจ่ายทุกอย่างได้ตลอดรอดฝั่ง จึงใช้วิธีการทำบัญชีรับจ่ายไว้ในสมอง ผลจึงปรากฏว่ามีการขาดดุลอยู่ตลอดเวลา ผลการวิจัยของสถาบันราชมงคล เรื่อง "สภาวะเศรษฐกิจและสังคมเกษตรกร" อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เมื่อ พ.ศ. 2521 พบว่า ร้อยละ 50 ของครอบครัวทุกหมู่บ้านมีหนี้สินเพราะรายจ่ายมากกว่ารายรับการทำบัญชีรายรับ -รายจ่ายเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน จะช่วยให้สมาชิกใน ครอบครัวสามารถควบคุมการใช้จ่ายเงินที่อาจเสียดุลได้เป็นอย่างดี
สมาชิกในครัวเรือนต้องร่วมมือกันจึงจะได้ผล วางแผนการใช้จ่ายเงินในครอบครัว
โดยอาจสรุปการใช้จ่ายเงินได้ 3 แบบ คือ
1. ใช้ตามใจชอบ เป็นการใช้ไปเรื่อย ๆ แล้วแต่ว่าต้องการอะไรก็ซื้อ เงินหมดก็หยุดซื้อ
2. ใช้ตามหมวดที่แบ่งไว้ เช่น แบ่งเป็น 5 หมวด
2.1 ค่าอาหารและค่าเสื้อผ้า
2.2 ค่ารักษาพยาบาล
2.3 ค่าทำบุญกุศล
2.4 เก็บออมไว้ใช้ในอนาคต ฉุกเฉิน
2.5 ค่าศึกษาเล่าเรียนบุตร
3. ใช้ตามแผนการใช้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เป็นการใช้เงินตามโครงการที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้วนั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถนำหลักการทางวิชาการมาใช้ในการปฏิบัติตามแผนของการใช้จ่ายในครอบครัว
หลังจากนั้น สรุปข้อควรปฏิบัติ การใช้จ่ายภายในครอบครัว มีสิ่งที่พึงปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
2. การประหยัด
3. การออมทรัพย์
บัญชีรายรับ - รายจ่าย ทำแบบง่ายๆ เดือนนี้ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ตามแผนที่วางไว้ข้างบนนะแหละ ต้องพยายามกันหนักหน่อยละ รู้ๆกันอยู่นะ ส่วน การประหยัด ก็ต้องประหยัดให้เป็น ไม่ใช่เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เช่นเจ็บป่วยก็ต้องหาหมอ ไม่ใช่ปล่อยจนลามหนัก ข้อสุดท้าย การออม อันนี้เอื้อซึ้งดีอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ ฮิๆๆ
แล้ว ดร.สุวรรณ เขาว่าไงละพี่อาทร
ท่านก็ว่า “ การออมเงิน นั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพเศรษฐกิจและสังคมในยุคน้ำมันแพง ซึ่งนอกจากจะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับครอบครัวแล้ว ยังช่วยปลูกฝังค่านิยมในการออมและการลงทุนให้กับบุตรหลานอีกด้วย ส่วนเทคนิคการออม ต้องใช้จ่ายให้น้อยกว่าเงินที่หามาได้ การออมต้องเริ่มตั้งแต่ต้นเดือน โดยแบ่งเก็บไว้ประมาณ 20 % และที่เหลือสำหรับใช้จ่ายให้เพียงพอ และจัดลำดับความเร่งด่วนของรายจ่าย ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ก็ โอเคนะ เป็นพื้นฐานที่ดี บางทีก็เป็นสิ่งที่เรา ๆ รู้กันแล้ว แต่ขาดการปฏิบัติที่จริงจัง การบูมเรื่อง การทำบัญชีครัวเรือน ก็อาจเป็นกระแสที่ควรมี หลังผ่านการสร้างกระแสการออมมาอย่างหนัก แต่ยังเกิดผลน้อย ก็เพราะเหตุหลักคือการมองภาพการใช้จ่ายทั้งครอบครัวไม่ชัด ทำให้ขาดดุล แล้วจะไปเกิดการออมได้อย่างไร เข้าใจแล้วยังละจ๊ะเอื้อ
อืม ก็จริงนะ มิน่า เงินเดือนก็เพิ่ม หารายได้เสริมมาได้เท่าไร แต่ไม่เคยพอ เอ้อ อีกอย่างที่เห็นชัด มักจ่ายตามใจฉันซะส่วนใหญ่ ว่าแต่ว่า เอ้อ ใครจะเริ่มน้า สงสัยต้องเป็นแม่อีกแล้ว .........
พี่อาทร ละ เห็นดีแล้ว เริ่มทำมั่งแล้วยัง จะทำธุรกิจไม่ใช่เรอะ ..........เอื้อย้อนถามมั่ง แล้วก็พากันหัวเราะ ................
...........................................
โลก ของ เอื้อและอาทร
โดย สนวลี