วิธีป้องกัน และการรับมือไวรัสโคโรน่า COVID-19
ตอนนี้คงไม่มีเรื่องไหนที่ทุกๆคน พูดถึงเท่ากับเรื่อง COVID-19 ซึ่งจะเรียกว่า Talk Of The Town ก็ว่าได้ เพราะการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ได้ไปทั่วโลก บางประเทศถูกปิดไม่ให้คนเข้าออก กิจกรรมสาธารณะต่างๆ ถูกยกเลิก ร้านค้าเงียบเหงา ผู้บริโภคก็กลัวจะติดโรค เก็บตัว ไม่ทานข้าวนอกบ้าน ไม่ออกไปเที่ยว ไม่ออกไปเดินห้างสรรพสินค้า ได้ยินเสียงไอจามของใครก็ขวัญกระเจิง เครียดกันไปหมด
เมื่อทำอะไรไม่ได้มากในสถานการณ์นี้ สิ่งที่ทุกคนทำได้ คือ เรียนรู้วิธีการป้องกันและรับมือไวรัสโคโรน่า สอ.ปม. จึงนำมาฝากกับทุกท่านค่ะ
วิธีการสังเกตง่ายๆว่า เป็นไข้หวัด หรือ COVID-19 มีดังนี้
ไข้หวัด
- มีไข้ 3-4 วัน ไข้จะลด อาการจะดีขึ้น
- มีอาการไอจาม เสมหะเล็กน้อย
- ไม่มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูก
COVID-19
- ไข้สูงมากกว่า 37 องศา ติดต่อกันหลายวัน
- มีอาการไอจามเกิน 4 วัน เสมหะมีเลือด
- บางคนมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก บางรายมีอาการรุนแรงมีปอดอักเสบ หรือปอดบวม
ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 อยู่ไหนได้บ้าง ?
1. อยู่ในน้ำได้ 4 วัน
2. อยู่ในละอองฝอยน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย และน้ำตา จะอยู่รอดในอากาศได้เพียง 5 นาที
3. อยู่บนวัสดุ เช่น พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตูได้ 7 - 8 ชั่วโมง
4. อยู่ในผ้า หรือกระดาษทิชชู่ ได้ 8 - 12 ชั่วโมง
5. อยู่บนโต๊ะพื้นเรียบได้ 24 - 48 ชั่วโมง
6. อยู่ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อาจอยู่ได้ถึง 1 เดือน
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19
1. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง มีการระบาดต่อเนื่อง
2. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรอยู่ห่างกันเกิน 1 เมตร หรือ 3 ฟุต เวลาพบปะกัน
3. หลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตโรคติดต่อ หากไม่มีความจำเป็น
4. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย ที่มีอาการไอ จาม เจ็บคอ ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย
5. หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
6. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
7. ปิดปาก/จมูก เวลาไอ จามด้วยทิชชู่ทุกครั้ง และควรล้างมือก่อนสัมผัสใบหน้า หรือ ของกิน
8. หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดสม่ำเสมอ นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือพกแอลกอฮอล์เจล 70% ติดตัว ควรใช้เป็นประจำเมื่อสัมผัสสิ่งของสาธารณะ หรือธนบัตร เหรียญ
9. รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุก ใช้ช้อนกลาง
10.ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น อาทิ แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
11. สังเกตอาการ หากมีอาการใกล้เคียง มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการอย่างละเอียด หรือสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ที่มา : www.intrapramul.go.th