สิทธิประโยชน์ของสมาชิก หากเสียชีวิต ได้รับอะไรบ้าง?
สวัสดีครับชาวสหกรณ์ป่าไม้ สาระน่ารู้ตอนนี้ เราจะนำเสนอเรื่อง สิทธิประโยชน์ ของสมาชิกสหกรณ์ หากเสียชีวิต ไปแล้วจะได้รับอะไรบ้าง? ขั้นตอนป็นอย่างไร? เราไปอ่านกันเลยครับ
สมาชิกและสมาชิกสมทบ เมื่อเสียชีวิตแล้วได้รับอะไรบ้าง?
โดยการแบ่งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแบ่งได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
1. สมาชิกและสมาชิกสมทบ “ที่มีประกันชีวิตกลุ่ม”
2. สมาชิกและสมาชิกสมทบ “ที่ไม่มีประกันชีวิตกลุ่ม”
สมาชิก ที่มีประกันชีวิตกลุ่มได้รับอะไรบ้าง?
- ได้รับเงินสินไหม จากบริษัทประกันภัย
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการเพื่อช่วยเหลืองานศพสมาชิก
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ราชการ (เฉพาะการเสียชีวิตจากปฎิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น)
สมาชิกสมทบ ที่มีประกันชีวิตกลุ่มได้รับอะไรบ้าง?
- ได้รับเงินสินไหม จากบริษัทประกันภัย
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการเพื่อช่วยเหลืองานศพสมาชิกสมทบ
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกสมทบเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ราชการ (เฉพาะการเสียชีวิตจากปฎิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น)
สมาชิก ที่ไม่มีประกันชีวิตกลุ่มได้รับอะไรบ้าง?
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการเพื่อช่วยเหลืองานศพสมาชิก
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ราชการ (เฉพาะการเสียชีวิตจากปฎิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น)
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการเพื่อสงเคราะห์การศพสำหรับสมาชิกที่มิได้ประกันชีวิต
สมาชิกสมทบ ที่ไม่มีประกันชีวิตกลุ่มได้รับอะไรบ้าง?
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการเพื่อช่วยเหลืองานศพสมาชิกสมทบ
- ได้รับสวัสดิการจากสหกรณ์ : สวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกสมทบเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ราชการ (เฉพาะการเสียชีวิตจากปฎิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น
สมาชิกเสียชีวิตขอรับสินไหมอย่างไร?
สมาชิกและสมาชิกสมทบที่มีประกันชีวิตกลุ่ม หากเสียชีวิตจะขอรับสินไหมอย่างไร?
การเตรียมเอกสารขอรับสินไหม
การเตรียมเอกสาร สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี จากสาเหตุของการเสียชีวิต ดังนี้
1. เสียชีวิตจากการเจ็บป่วย
2. เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
กรณีเสียชีวิต เนื่องจากเจ็บป่วย
ให้ทายาทเตรียมเอกสารรับสินไหม ดังนี้
1. สำเนาใบมรณะบัตร
2. สำเนาบัตรประจำประชาชนผู้เสียชีวิต
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ ประทับตรา “ตาย”
4. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาล)
5. ใบรับแจ้งการตาย (กรณีเสียชีวิตที่บ้าน) พร้อมแนบสำเนาบัตรข้าราชการของผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน
**เอกสารประกอบการขอรับเงินสินไหม จำนวน 2 ชุด พร้อมเซ็นรับรองสำเนาทุกฉบับ
กรณีเสียชีวิต เนื่องจากอุบัติเหตุ
ให้ทายาทเตรียมเอกสารรับสินไหม ดังนี้
1. สำเนาใบมรณะบัตร
2. สำเนาบัตรประจำประชาชนผู้เสียชีวิต
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ ประทับตรา “ตาย”
4. รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
5. ใบรายงานชันสูตรพลิกศพ
** เอกสารประกอบการขอรับเงินสินไหม จำนวน 2 ชุด พร้อมเซ็นรับรองสำเนาทุกฉบับ
การส่งเอกสารขอรับสินไหม
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งเอกสารมาที่สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด ได้
ทางไปรษณีย์ : สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด ตู้ปณ. 169 ปณศ. จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หรือ นำส่งด้วยตนเองที่สำนักงานสหกรณ์
ประกันชีวิตกลุ่มคืออะไร? เบี้ยประกันเท่าไร?
ประกันชีวิตกลุ่มคือ การทำประกันภัยแบบหลายคนภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน (กรมธรรม์ในนามของสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด) โดยนิยมทำให้กับบุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงาน ที่ทำประกันชีวิตกลุ่มเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากประกันชีวิตส่วนบุคคล ที่ซื้อผ่านตัวแทนประกัน และความคุ้มครองครอบคลุมเฉพาะผู้ซื้อกรมธรรม์เพียงผู้เดียว
เป็นสมาชิกรับความคุ้มครองทันที
สมาชิกทุกคนรับความคุ้มครอง ฟรี!! ในเบี้ยประกันเริ่มต้น เดือนละ 35 บาท
**ทันทีที่บริษัทประกันตอบรับการทำประกันชีวิต
เงื่อนไขการสนับสนุนค่าเบี้ยประกันและความคุ้มครอง ดังนี้
1.ในกรณีที่สมาชิกเลือกทำประกันชีวิตกลุ่มค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 35 บาท สหกรณ์จ่ายสนับสนุนค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกเดือนละ 35 บาท ความคุ้มครองเฉพาะกรณีเสียชีวิตทั่วไป 100,000 บาท เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ 150,000 บาท จนถึงอายุ 70 ปี
2.ในกรณีที่สมาชิกเลือกทำประกันชีวิตกลุ่มค่าเบี้ยประกันเกินกว่า 35 บาท สหกรณ์จ่ายสนับสนุนค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกเดือนละ 50 บาทหรือปีละ 600 บาทต่อคน จนถึงอายุ 70 ปี
**เมื่ออายุครบ 66 ปี แล้ว อัตราเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มของท่านจะลดลงเหลือ 270 บาท เท่านั้น
อัตราเบี้ยประกันเพิ่มเติมสำหรับสมาชิก
สมาชิกสมทบ ทำประกันชีวิตแบบสมัครใจได้
• รับทำประกันชีวิตที่อัตราเบี้ยประกัน 270 และ 470 บาท เท่านั้น
• กรณีสมัครประกันใหม่ สมาชิกสมทบจะต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี
• กรณีที่สมาชิกสมทบทำประกันชีวิตในอัตราเบี้ย 470 บาท เมื่ออายุครบ 66 ปี แล้ว อัตราเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มของท่านจะลดลงเหลือ 270 บาท เท่านั้น
• ประกันสิ้นสุดความคุ้มครองเมื่อสมาชิกสมทบอายุ 70 ปี
หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์คืออะไร?
หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าคืออะไร? และอย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ ก็เปรียบเสมือนพินัยกรรมดี ๆ นั่นเอง เพราะเป็นหนังสือที่กำหนดสิทธิให้แก่บุคคล เช่นคู่สมรส บุตร บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ให้เป็นผู้รับโอนประโยชน์ของสมาชิกที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์
หากสมาชิกถึงแก่กรรมด้วยเหตุใดก็ตาม ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดเพื่อสิทธิประโยชน์ของสมาชิกขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ท่านทำหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ให้แก่ทายาท หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวพันกับสมาชิกผู้แสดงเจตนาเมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินฝาก ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินสินไหมทดแทน (หลังจากหักหนี้ที่มีต่อสหกรณ์แล้ว) และเงินสวัสดิการที่จะได้รับตามระเบียบสหกรณ์ ให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ ทั้งนี้ผู้รับโอนประโยชน์สามารถระบุได้ตั้งแต่ 1 คน หรือหลายคนก็ได้
การทำหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ มีความสำคัญมาก ฉะนั้น หากสมาชิกท่านใดยังไม่ได้ทำหนังสือฉบับนี้ หรือได้ทำหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ไว้แล้ว แต่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงผู้รับโอนประโยชน์ โปรดทำหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ฉบับใหม่แทนฉบับเดิม โดยระบุวันที่ให้ชัดเจน พร้อมลงลายมือชื่อสมาชิก และลายมือชื่อพยานให้ครบถ้วน
สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ คลิ๊ก แล้วส่งเอกสารมาที่ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด ตู้ป.ณ. 169 ปณศ.จตุจักร เขตจตุจักร กทม.10900
ทำหนังสือตั้งผู้รับโอนแล้วสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ Application Forest CO-OP